Type : Lathe Download Document :
งานกลึง
ชิ้นงานกลมลักษณะต่าง ๆ นั้น ทำได้ด้วยการกลึง กล่าวคือ ถ้าเป็นงานที่กลึงบนผิวข้างนอก เราเรียกว่า งานกลึงนอก และถ้าเป็นงานกลึงที่ผิวข้างใน เราเรียกว่างานคว้าน ถ้าเป็นงานกลึงให้หน้าตัดเป็น ผิวราบ เรียกว่างานกลึงหน้าตัด งานกลึงให้เป็น เรียว เรียกว่า งานกลึงเรียว งานกลึงขึ้นเป็นรูปเป็นรูปทรงต่างเรียกว่า งานกลึงขึ้นรูป และงานกลึงให้เป็นเกลียว เรียกว่า งานกลึงตัดเกลียว
เครื่องกลึงชนิดต่าง ๆ
เครื่องกลึงมีหลายชนิด แต่ละชนิดให้งานลักษณะต่าง ๆ กัน เครื่องกลึงที่ใช้กันมากที่สุด คือ ?เครื่องกลึงยันศูนย์? ที่สำคัญเป็นลำดับรองลงไป ได้แก่ ?เครื่องกลึงยืน? และ?เครื่องกลึงจานหน้าตัด?
เครื่องกลึงยันศูนย์เป็นเครื่องกลึงที่มีศูนย์ท้ายเป็นตัวประคองส่วนท้ายของชิ้นงานที่ยื่นยาวออกมา โดยศูนย์เป็นจุดเรียวแหลม ใช้สำหรับยันจับชื้นงานให้ได้ศูนย์ เครื่องกลึงชนิดนี้จึงเรียกว่าเครื่องกลึงยันศูนย์ ในบางกรณีก็มีผู้เรียกว่าเครื่องกลึงเพลานำ หรือเครื่องกลึงเหลาดึงอีกด้วยระบบหัวแท่น
ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องกลึง
ระบบหัวแท่น
เป็นระบบจับชิ้นงานให้หมุน เพื่อให้ปฏิบัติงานกลึงได้เพลาหัวแท่นจะต้องประกอบด้วยแบริ่งอย่างดี มีกำลังขับพอและจะต้องสร้างจากเหล็กที่ดีที่สุด เพลาจับที่หัวแท่นนี้ส่วนมากนิยมใช้เพลากลวงเพื่อให้ชิ้นงานลอดพ้นออกไปได้ ตำแหน่งบนเพลาที่ต้องจับกับแบริ่งจะต้องชุบแข็งและเจียระไนผิวจนเรียบ ลักษณะของ แบริ่งอาจจะเป็นแบริ่งชนิดปลอกหรือบอลแบริ่งก็ได้ หากเป็นแบริ่งปลอก วัสดุแบริ่งควรเป็นบรอนซ์ หากเป็นบอล แบริ่ง จะดีกว่า เพราะมีความฝืดน้อยมากเพลางานนี้จะต้องหมุนได้คล่อง โดยไม่มีระยะครอนแต่อย่างใด ถ้าเพลางานนี้หลวม ผิวงานกลึงจะมีรอยขูด และยิ่งกว่านั้นจะกลึงได้ไม่กลม วิธีป้องกันมิให้เพลาหลวม ให้ปรับแบริ่ง บอลแบริ่งในรูปนั้นมีหน้าที่รับแรงกดอักจากเพลางาน เพราะขณะงานหมุนจะมีแรงเหวียงออกจากศูนย์กลางปรากฏเป็นแรงกดอัดที่บอลแบริ่งนี้นจะต้องรับไว้ ที่หัวเพลางานจะแลเห็นเกลียวหัวเพลาเพื่อให้จังหัวจับชนิดต่าง ๆ รูที่หัวเพลาจะเป็นรูเรียว เพื่อให้สอดยันศูนย์หัวแท่น ได้ด้วย เพลางานนี้ขับด้วยระบบส่งกำลังในหัวแท่น
แท่นมีด
แท่นมีดเป็นแท่นจับมีดกลึง และพามีดกลึงเข้ากลึงผิวโลหะ มีดกลึงจะเดินได้ สองทิศทาง คือเดินเข้าตัดผิวในทางลึกหรือแกน x และเดินกลึงตามยาวหรือแกนy แท่นมีดจะประกอบด้วย 1. แคร่สะพานขวาง 2.แท่นหมุนมีด และที่จับมีด แท่นมีดจะต้องแล่นแนบสนิทอยู่บนแคร่หรือสะพานเครื่องกลึงโดยไม่มีระยะเบียดเลย แคร่หรือสะพาน ขวางของแท่นมีดจะต้องขับเคลื่อนได้ทั้งใช้มือและอัตโนมัติ
ยันศูนย์ท้ายแท่น ใช้สำหรับยันศูนย์ของชิ้นงานยาว ๆ ที่ท้ายแท่นหรือจะใช้จับดอกสว่านเจาะรู หรือผายปากรูบนชิ้นงานก็ได้
สะพานแท่นกลึง
เป็นแคร่ที่รองรับอุปกรณ์เครื่องกลึงทุกส่วน และ เป็นส่วนบนของฐานแท่นเครื่อง ทั้งแท่นมีดและชุดท้ายแท่นจะต้องเดินอยู่บนสะพานแท่นกลึงนี้ บนสะพานจะต้องมีสันเป็นทางยาว และผิวสะพานจะต้องราบเรียบเพื่อนำให้แท่นมีดและชุดท้ายแท่นเคลื่อนได้ตามแนวและผิวเคลื่อนแนบสนิทกับแท่นตลอดเวลา หากเป็นงานกลึงชิ้นใหญ่ ๆ สะพานเครื่องกลึงนี้ตอนใกล้หัวแท่น จะถอดออกได้ส่วนหนึ่ง ช่วยให้กลึงชิ้นงานได้โต ๆ
ระบบส่งกำลังที่หัวแท่น
เพลางานที่หัวแท่นมีหน้าที่หมุนชิ้นงานกลึงด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับงาน ความเร็วรอบต่าง ๆ นี้ส่วนมากปรับได้ที่ระบบหัวแท่น เพราะภายในหัวแท่น มีระบบจัดส่งกำลังและในบางกรณีอาจปรับได้ที่ขาแท่นเครื่องก็มี ระบบจัดส่งกำลังภายในแท่นกลึงได้แก่ ชุดล้อสายพาน และชุเฟืองทด ซึ่งปรับความเร็วรอบได้เป็นขั้น ๆ อย่างไรก็ตามเครื่องกลึงที่ปรับความเร็วได้ไม่เป็นความเร็วขั้นก็มีใช้
ชุดล้อสายพาน
กำลังขับที่จะส่งจากเพลาหนึ่งไปหมุนอีกเพลาหนึ่ง และจะให้หมุนทางไหนนั้น ขับด้วยชุดสายพาน โดยพาดจากล้อขับให้หมุนล้อตาม ชุดสายพานส่งกำลัง ขับได้เพราะความฝืด ชุดสายพานทุกชุดขณะขับ จะปรากฏสลิปหรือเลื่อนออก ด้วยเหตุนี้เอง ความเร็วรอบของล้อตามจึงมักจะช้ากว่าความเร็วรอบที่ คำนวณได้จากอัตราทดอยู่ประมาณ 1เปอร์เซ็นต์ สายพาน จำแนกได้เป็นสายพานแบนและสายพานลิ่ม (รูป 18.2 ) สายพานลิ่มเหมาะสำหรับส่งกำลังขับระหว่าง คู่ล้อที่อยู่ใกล้กันมาก สายพานชนิดนี้มีกำลังฉุดดีกว่าชุดเฟืองทด ชุดเฟืองทดส่งกำลังขับได้ด้วยการขบกันของฟันเฟือง จึงไม่ปรากฏมีสลิป ชุดเฟืองทดนั้นมีหลายประเภทหลายลักษณะ
|